General Information Canada

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศแคนาดา

แคนาดาตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่สวยงามแห่งและมีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่มีประชากรน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 30 ล้านคน อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ชาวแคนาดาส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพมาจากที่ต่างๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน โปแลนด์ อิตาลี แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และอินเดีย แต่กลุ่มอพยพล่าสุด คือจากเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบอินโดจีน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่ที่มณฑลควิเบคประชากรจะพูดภาษาฝรั่งเศส
Canada Map
 
ประเทศแคนาดาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 มณฑล และ 3 เทอริทอรี่ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางคือ
มณฑล / เทอริทอรี่ ชื่อเมืองหลวง
Alberta
British Columbia
Manitoba
New Brunswick
New Foundland
Northwest Territories
Nova Scotia
Nunavut
Ontario
Prince Edward Island
Quebec
Saskatchewan
Yukon
Edmonton
Victoria
Winnipeg
Fredericton
St. John's
Yellowknife
Halifax
Iqaluit
Toronto
Charlottetown
Quebec City
Regina
Whitehorse
 

อัลเบอร์ตา (Alberta)

เป็นถิ่นกำเนิดของเทือกเขา Rocky มีดอกกุหลาบป่า (Wild Rose) เป็นดอกไม่สัญลักษณ์ทางการของมณฑลมณฑลนี้มีทรัพยากรธรรมชาติคือ น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ มีป่าไม้ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และที่ราบเพาะปลูกข้าวสาลี

บริติชโคลัมเบีย (British Columbia)

ได้ชื่อว่าเป็นประตูสู่แปซิฟิก เป็นมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของแคนาดา มีชายฝั่งทะเลที่งดงามคล้ายฟยอร์ด พื้นที่เป็นภูเขาใหญ่น้อย เมืองหลวงคือวิคตอเรีย (Victory) แต่เมืองที่เป็นที่รู้จักกันดีคือเมืองแวนคูเวอร์ (Vancouver)

มานิโตบา (Manitoba)

ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศแคนาดา พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยทะเลสาบ จนได้ชื่อว่า "Land of 100,000 lakes" มณฑลนี้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ทางตอนเหนือพื้นที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งและป่าไม้ ที่นี่มีการทำเหมืองแร่ที่สำคัญคือทองแดง สังกะสี และนิเกิล

นิวบรันสวิก (New Brunswick)

มณฑลนี้มีน้ำล้อมรอบสามด้าน เป็นที่ตั้งของอ่าวฟันดี (Bay of Fundy) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอ่าวที่มีคลื่นสูงที่สุดในโลก

นิวฟาวแลนด์ (Newfoundland)

มณฑลนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศแคนาดา

นอร์ธเวสต์ (Northwest Territories)

ที่นี่ฤดูร้อนกลางวันจะยาวกว่ากลางคืนมากจนพระอาทิตย์แทบจะไม่เคยลับของฟ้า ส่วนในฤดูหนาวจะตรงกันข้ามคือมืดมิดจนไม่มีกลางวัน

โนวา สโกเทีย (Nova Scotia)

มีเมืองหลวงชื่อฮาลิแฟ็กซ์ (Halifax)

นูนาวูท (Nunavut)

เป็นมณฑลใหม่แยกมาจากนอร์ธเวสต์ มีภูมิอากาศคล้ายนอร์ธเวสต์เทอริทอรี่

พรินซ์ เอ๊ดเวิร์ด ไอร์แลนด์ (Prince Edward Island)

เป็นมณฑลที่เล็กที่สุดของแคนาดา มีเมืองหลวงชื่อ ชาร์ล็อตต์ทาวน์ (Charlottetown)

ควิเบค (Quebec)

มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดามณฑลทั้งหมดของประเทศแคนาดา มณฑลนี้ล้อมรอบด้วยน้ำเกือบทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายฝรั่งเศส

ซัสคาเซวาน (Saskatchewan)

พื้นที่ครึ่งหนึ่งของมณฑลเต็มไปด้วยป่าไม้ ที่เหลือเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งราบแพรรี่ (Prarie) บางส่วนเป็นทะเลสาบน้ำใสสะอาดซัสคาเซวานขึ้นชื่อได้ว่าเป็น "ตะกร้าขนมปัง" ของแคนาดา เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวไรย์และลูกเดือย

ยูคอน (Yukon)

ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน (Midnight Sun) เนื่องจากในฤดูร้อนพระอาทิตย์ไม่เคยหลับ

ภูมิอากาศ

สภาพอากาศของแคนาดามีความหลากหลายตั้งแต่ขั้วโลกเหนือที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งไปจนถึงแนวป่าอันเขียวขจีของแถบชายฝั่งตะวันตกของบริติชโคลัมเบีย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว แคนาดามีฤดูกาลที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด 4 ฤดู โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแถบภูมิภาคใกล้ชายแดนสหรัฐอเมริกา ที่มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น อุณหภูมิในช่วงกลางวันของฤดูร้อนอยู่ในช่วง 35 องศาเซลเซียส หรือร้อนกว่านั้น ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดในฤดูหนาวอาจติดลบถึง 25 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และใบไม้ร่วงจะอยู่ในระดับปานกลาง

ระบบเงินตรา

ของแคนาดาคือดอลล่าร์แคนาดา จำนวนเงินที่ใช้ในประเทศแคนาดาจะมีธนบัตร ซึ่งมีมูลค่าดังต่อไปนี้ 2, 5, 10, 20, 50, 50, 100 และธนบัตรใบละ 1,000 ดอลล่าร์แคนาดา ส่วนเหรียญจะมีอัตราดังต่อไปนี้ 1c, 5c, 10c, 25c, 50c และเหรียญ 1 ดอลล่าร์แคนาดา เหรียญ 1 ดอลล่าร์แคนาดานี้ มีชื่อว่า "Loonies" เพราะมีรูปของนกชนิดหนึ่งอยู่บนเหรียญนั่นเอง ธนาคารต่าง ๆ ในแคนาดามีบริการแก่นักเรียนนักศึกษาในหลายรูปแบบ เช่น บัญชีออมทรัพย์ บัญชีสะสมทรัพย์ และ อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ นักเรียน นักศึกษา สามารถที่จะมีบัตรเครดิตหรือบัตร ATM ได้ในแคนาดา หากครอบครัวของคุณ มีความประสงค์ที่จะจำกัดจำนวนค่าใช้จ่ายของคุณในแต่ละเดือน ก็สามารถที่จะแจ้งให้ธนาคารดำเนินการดังกล่าวได้แต่ละเดือน สำหรับการใช้จ่ายของคุณโดยเบิกเงินจากบัญชีหรือบัตรเครดิตในแคนาดา จะมีธนาคารแห่งเอเชียในเขต สถานที่ที่มีชาวเอเชียอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งจะมีพนักงานของธนาคารที่ใช้ ภาษาของคนเอเชียได้ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน กวางตุ้ง หรือแต้จิ๋ว หรืออื่น ๆ

อัตราค่าครองชีพ

ในแคนาดาค่อนข้างต่ำ ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ค่าครองชีพต่ำที่สุดคำนวณเฉลี่ยแล้ว ประมาณ 7,500 ดอลล่าร์แคนาดาจนถึงกว่า 15,000 ดอลล่าร์แคนาดาต่อปี แต่ในบางแห่ง เช่น Vancouver, Toronto และ Montreal จะมีค่าครองชีพที่สูงมากซึ่งอาจจะมาจากค่าเช่าบ้าน หรืออพาร์ทเมนท์มีราคาสูง แต่หากคุณพอมีสตางค์ที่จะใข้จ่ายสบาย ๆ คุณจะสามารถสรรหาสิ่งต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นอาหารอร่อย ๆ ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ห้องอาหาร

การขอวีซ่านักเรียน

นักเรียนควรปรึกษาขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์กลางการศึกษาแคนาดา เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของวีซ่า และเพื่อที่จะสามารถดำเนินการได้ถูกขั้นตอน ก่อนที่นักศึกษาจะทำเรื่องขอวีซ่านักเรียนไปศึกษาต่อที่แคนาดา

เอกสารประกอบการยื่นขอวีซ่านักเรียนมีดังนี้

  1. แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่า IMM 1294 ที่กรอกข้อมูลโดยครบถ้วน
  2. แบบฟอร์มรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัวที่กรอกข้อมูลโดยครบถ้วน
  3. หนังสือเดินทางพร้อมสำเนา (ต้องมีอายุเพียงพอกับระยะเวลาที่จะใช้ศึกษาต่อในประเทศแคนาดา)
  4. รูปถ่ายขนาด2 x 2.5 นิ้ว สีหรือขาว – ดำ จำนวน 4 ใบ ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
  5. จดหมายตอบรับการเข้าศึกษาจากสถาบัน ตัวจริงพร้อมสำเนา โดยระบุรายละเอียดของนักเรียน เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด หลักสูตร ระดับการศึกษา ระยะเวลาของหลักสูตร วันที่เริ่มและสิ้นสุดของหลักสูตรนั้น
  6. นักเรียนที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อในรัฐควีเบค ท่านจะต้องยื่นเอกสารตอบรรับ (CAQ) จากกระทรวงวัฒนธรรมและกิจการคนเข้าเมืองของมลรัฐนั้นด้วย
  7. หลักฐานการศึกษาตัวจริงพร้อมสำเนา และประกาศนียบัตร จากสถาบันการศึกษาล่าสุด
  8. หลักฐานการเงินตัวจริง
    • จดหมายรับรองจากธนาคาร หรือสมุดบัญชีเงินฝากของผู้รับผิดชอบทางการเงินของนักเรียน ซึ่งต้องมีอายุมากกว่า 12 เดือน
    • จดหมายรับรองจากนายจ้างของผู้รับผิดชอบทางการเงินของนักเรียน โดยระบุรายได้ต่อเดือน ในกรณีที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ท่านต้องยื่นหนังสือรับรองการจดทะเบียนการค้า
    • ในกรณีที่เป็นนักเรียนทุน ต้องระบุจำนวนเงินทุน สาขาวิชาและสถานภาพของทุนการศึกษาที่ได้รับ
  9. นักเรียนที่มีอายุ 18 ปีหรือมากว่า ต้องยื่นหลักฐานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติยืนยันว่าท่านไม่มีประวัติอาชญากรรมในทะเบียนของสำนักงานตำรวจ
  10. นักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
    • หนังสือลงนามประทับตราจากบิดาและมารดามอบอำนาจให้นักเรียนอยู่ในความดูแลของผู้ดูแลนักเรียนในประเทศแคนาดา โดยระบุชื่อผู้ดูแลนักเรียน และมอบสิทธิ์ในการตัดสินใจในกรณีฉุกเฉิน เช่น กรณีนักเรียนป่วย
    • หนังสือลงนามประทับตราจากผู้ดูแลนักเรียนในประเทศแคนาดา ยืนยันและแสดงความรับผิดชอบในการดูแลนักเรียนแทนบิดาและมารดาในกรณีฉุกเฉิน
  11. ค่าธรรมเนียมการสมัครท่านละ 125 เหรียญแคนาดา 95 เหรียญสหรัฐ 3,750 บาท และจะต้องชำระเป็นแคชเชียร์เช็คหรือแบงค์ดร๊าฟท์ สั่งจ่ายในนาม สถานเอกอัครราชฑูตแคนาดาเท่านั้น ในการสมัครขอวีซ่านี้ จะไม่มีการคืนเงินค่าธรรมเนียมภายหลังการสมัคร ไม่ว่าผู้สมัครจะได้รับอนุมัติวีซ่าหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนในการขอวีซ่านักเรียน

  1. นักศึกษาควรนำเอาเอกสารต่างๆ มาให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์กลางการศึกษาแคนาดา ช่วยตรวจความถูกต้องและครบถ้วนก่อน
  2. นำเอกสารไปที่ฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง (Immigration) ณ สถานทูตแคนาดา เพื่อยื่นขอวีซ่านักเรียนได้ระหว่าง วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00 – 10.00 น. ที่ สถานทูตแคนาดา ชั้น 15 อาคารอับดุลราหิม 990 ถนนพระราม 4 บางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร 636 – 0540-9
  3. เจ้าหน้าที่ Immigration จะดูเอกสาร และในบางกรณีอาจจะสัมภาษณ์ถึงจุดประสงค์ในการไปศึกษาต่อ ณ แคนาดา ในวันเดียวกัน หรือนัดมาสัมภาษณ์ทีหลัง
  4. ถ้าเอกสาร และการสัมภาษณ์ผ่านไปโดยเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ Immigration จะให้ฟอร์มการตรวจสุขภาพ (Medical Form) พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์ที่สถานทูตฯ รับรองและกำหนดไว้ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ซึ่งนักศึกษาควรติดต่อเพื่อรับการตรวจสุขภาพทันที (ในกรณีเร่งด่วน แนะนำให้นักศึกษาแจ้งให้แพทย์ช่วยส่งผลการตรวจผ่านทางบริษัทจัดส่งพัสดุหรือ courier เพื่อความรวดเร็วและป้องกันการสูญหาย ทั้งนี้นักศึกษาต้องจ่ายค่าส่งที่แพทย์เอง)
  5. เมื่อทางสถานทูตฯ ได้รับผลการตรวจสุขภาพที่ผ่านการพิจารณาและการรับรองแล้ว เจ้าหน้าที่ Immigration จะแจ้งให้นักศึกษานำเอาพาสปอร์ตมาติดสติกเกอร์วีซ่านักท่องเที่ยว (visitor visa) สำหรับใช้ในการเดินทางเข้าแคนาดา พร้อมทั้งจะออกจดหมายกำกับสำหรับให้นักศึกษายื่นต่อเจ้าหน้าที่ Immigration ที่สนามบินในแคนาดาเมื่อเดินทางถึงเจ้าหน้าที่ฯ จะออกวีซ่านักเรียนให้ ณ ที่นั้น

รายชื่อแพทย์ที่นักเรียนต้องไปตรวจร่างกายในการทำวีซ่านักเรียน

นายแพทย์ปีเตอร์ จ. โคเมอร์ นายแพทย์ฟิลิปป์ ซี พลางกูร
บางกอกเนอสซึ่งโฮม พี.เอส.อี คลีนิค ถนนคอนแวนต์ กรุงเทพฯ 10500 3/4 ถนนนเรศ กรุงเทพฯ โทร. 233-2610 โทร. 236-1389, 236-1489

นายแพทย์กัลวา ซิงห์ นายแพทย์จรัส และโรงพยาบาลกรุงเทพฯ แพทย์หญิงวรรณจันทร์ พิมพ์พิไล
2 ซอยศูนย์วิจัย 7 คลีนิควรรณจันทร์ – จรัส ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 82/1 ถนนชัยภูมิ ตรงข้ามตลาดสมเพชร โทร. 318-0066 เชียงใหม่ โทร. (053) 252-500

ค่าใช้จ่ายในการศึกษาประเทศแคนาดา

ประมาณการค่าเล่าเรียนโดยเฉลี่ยตามระดับต่างๆ ดังนี้

ระดับการศึกษา ค่าใช้จ่ายต่อปี (CAD)
ภาษาอังกฤษ
มัธยมศึกษา
ประกาศนียบัตร / อนุปริญญาตรี
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
14,000
10,500
10,000
16,000
12,000 – 17,000
15,000
 
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ (1 CAD = 30 ฿)

ที่พักอาศัย

ที่พักสำหรับนักเรียนต่างชาติมีหลายประเภท ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมและตามต้องการดังนี้

1. Residence Hall

หอพักในสถานศึกษา มีทั้งห้องเดี่ยว ห้องคู่ และห้องชุด แบ่งหญิง - ชาย ใช้ห้องครัว ห้องน้ำรวม มีห้องอาหาร และร้านอาหาร หรือคาเฟ่ (Cafe) ที่โรงเรียนสอนภาษาและโรงเรียนมัธยมมักไม่มีหอพักให้
ราคา 3,500 - 7,500 ดอลลาร์แคนาดาต่อหนึ่งปีการศึกษา
ข้อดี ได้พบปะกับนักศึกษาจำนวนมาก มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน
ข้อเสีย ขาดอิสระ ต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบ

2. Renting a House หรือ Apartment

คือการเช่าบ้าน อาจร่วมกันเช่าห้องชุด มีห้องครัว ห้องน้ำ และห้องนอน 1 - 2 ห้อง มี/ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ คิดค่าเครื่องทำความร้อนและค่าไฟรวมกับค่าเช่า มีสัญญาเช่า มักให้มัดจำค่าความเสียหายและชำระค่าเช่ารายเดือนด้วยเงินสดหรือเช็ค หารายชื่อบ้านเช่าได้จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายสัปดาห์
ราคา บ้านเช่าอยู่รวมกันประมาณ 250 - 750 ดอลลาร์แคนาดาต่อเดือน ห้องชุดหรืออพาร์ทเมนท์ 400 - 1,500 ดอลลาร์แคนาดาต่อเดือน
ข้อดี เป็นส่วนตัวมากกว่าหอพักมหาวิทยาลัย ประกอบอาหารได้
ข้อเสีย ค่าเช่าแพง เสียเวลาเดินทาง เสียเวลาทำอาหาร

3. Staying with a Family

การพักกับครอบครัวชาวแคนาดา สถานศึกษาเป็นผู้เลือกครอบครัวให้ตามความต้องการของนักศึกษา โดยจ่ายค่าบริการให้สถานศึกษา สำหรับค่าที่พักจ่ายให้กับครอบครัวเป็นรายเดือน มีอาหารและห้องพักส่วนตัวให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัวและชุมชน
ราคา 400 - 800 ดอลลาร์แคนาดาต่อเดือน
ข้อดี มีโอกาสพัฒนาภาษาอังกฤษ เรียนรู้การดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมของชาวแคนาดา มีเฟอร์นิเจอร์และอาหารให้ ไม่เหงา
ข้อเสีย อยู่ไกล เสียเวลาเดินทาง ขาดความเป็นอิสระ ไม่เหมาะกับนักศึกษาปริญญาโทและเอก ซึ่งต้องการความสงบ

ระบบการศึกษาประเทศแคนาดา

ระบบการศึกษาแคนาดา
 

ระบบการศึกษาทั่วไป

ภายใต้รัฐธรรมนูญของแคนาดา ถือว่าการศึกษาเป็นความรับผิดชอบของมณฑลนั้นๆ คือแต่ละมณฑลจะมีระบบการศึกษาของตนเอง แต่ทั้งนี้มาตรฐานการศึกษาจะต้องสูงเท่าเทียมกันทุกมณฑล เนื่องจากแคนาดาจะให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยรัฐบาลจะมีเงินทุนช่วยเหลือให้กับสถาบันการศึกษา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่าเรียนในแคนาดาค่อนข้างต่ำ

โดยทั่วไปแล้วนักเรียนชาวแคนาดาจะเข้าโรงเรียนอนุบาลเมื่อมีอายุครบ 4 – 5 ปี และใช้เวลาเรียน 1 – 2 ปี ทั้งนี้แล้วแต่สมัครใจ เมื่อมีอายุครบ 6 ปี จะต้องเข้าเรียนชั้นเกรด 1 โดยปกติโรงเรียนจะเริ่มปีการศึกษาตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนมิถุนายน โรงเรียน มัธยมศึกษาจะมีไปจนถึงเกรด 11, 12 หรือ (OAC) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมณฑลนั้นๆ เพื่อศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยวิทยาลัย หรือ CEGEP ของควิเบค

โอกาสของนักเรียนไทยในการเข้าไปศึกษาในประเทศแคนาดา

โดยเฉลี่ยแล้ว "หลักเกณฑ์การตอบรับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยมีเกณฑ์การรับค่อนข้างสูง สำหรับนักเรียนไทยทั่วๆ ไป และสถาบันแต่ละแห่งจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการจำกัดที่นั่งในการเรียนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ แต่นักศึกษาไทยก็ยังมีโอกาส ซึ่งอาจทำได้โดย

1. ในระดับปริญญาตรี นักศึกษาควรสมัครเข้าเรียนวิทยาลัยในหลักสูตร University Transfer Program ระยะเวลา 2 ปีก่อน แล้วทำคะแนนให้ดี หลังจากนั้น Transfer เข้ามหาวิทยาลัยซึ่ง College นั้นๆ มีโปรแกรมร่วมกันอยู่ และเรียนต่ออีก 2 ถึง 3 ปี ก็สำเร็จปริญญาตรี ซึ่งวิธีนี้จะทำได้ง่ายกว่าสมัครตรงเข้าไปใน มหาวิทยาลัย ส่วนคะแนนภาษาอังกฤษ สำหรับเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น คือ คะแนน TOEFL 550 ขึ้นไป

2. สำหรับระดับปริญญาโท สถานศึกษาต้องการคะแนนเฉลี่ยสะสม หรือ GPA ประมาณ 2.5 – 3.0 หรือใกล้เคียงคะแนน TOEFL ประมาณ 550 – 600 ในกรณีที่ได้คะแนนไม่ถึงตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด นักศึกษาอาจสมัครเข้าเรียนภาษาในมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้าศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน เมื่อเรียนภาษาไปประมาณ 4 – 5 เดือนแล้ว มหาวิทยาลัยก็จะรู้จักนักศึกษาดีขึ้น จะช่วยให้การสมัครเข้าศึกษาทำได้ง่ายขึ้น

ส่วนการสมัครเข้าศึกษาวิชาบริหารธุรกิจในระดับปริญญาโท หรือ MBA นั้น นักศึกษาไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการทำงานแต่ต้องมีคะแนน TOEFL 550 – 600 โดยเฉลี่ยสถานศึกษาจะรับคะแนน TOEFL ประมาณ 570 ส่วนคะแนน GMAT โดยเฉลี่ย 550

สำหรับผู้ที่ต้องการไปเรียนภาษาก่อน สามารถสมัครได้ทั้งในสถาบันภาษาของเอกชนและรัฐบาล สำหรับสถาบันภาษาของเอกชน กระทรวงศึกษาธิการของประเทศแคนาดา เป็นผู้ควบคุมดูแล จึงมีมาตรฐาน เท่าเทียม กันทั้ง ของรัฐและเอกชน จะแตกต่างกันที่ค่าเล่าเรียน และหลักสูตรเท่านั้น เช่น สถาบัน ภาษาของเอกชน จะเปิดรับ ทุกเดือน ตลอดปี และมักจะเปิดเรียนในวันจันทร์แรกของเดือน แต่สถาบันภาษาในมหาวิทยาลัยจะเปิดเรียนเป็นช่วงๆ เท่านั้น

นอกจากนี้บางสาขาวิชา เช่น สาขาแพทยศาสตร์หรือนิติศาสตร์ จะไม่เปิดรับนักศึกษาต่างชาติเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิชาชีพในระดับแรก เนื่องจากมีการจำกัดจำนวนผู้เข้าเรียน และนักศึกษาแคนาดาเองก็สมัครเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก จึงไม่สามารถเปิดรับสมัครนักศึกษาต่างชาติ เข้าเรียนได้ แต่สำหรับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาหรือปริญญาโทขึ้นไปนั้นไม่มีข้อจำกัด สำหรับนักศึกษาต่างชาติ

ปีการศึกษา

การรับเข้าเรียน มี 2 ช่วง คือ เดือนกันยายน และต้นเดือนมกราคม / ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่โรงเรียนบางแห่งจะยืดหยุ่นให้กับนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาต่างชาติในการรับสมัครเรียน ซึ่งอาจเปิดรับตลอดปีหรือปีหนึ่งหลายๆ ครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนนักเรียนต่างชาติที่สนใจและต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในระดับประถม และมัธยม หากต้องการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลควรติดต่อไปยังกระทรวงศึกษาที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการรับนักเรียนต่างชาติเข้าศึกษา หรือนักเรียนจะติดต่อโดยตรงไปยังสำนักงานกลาง ของแต่ละโรงเรียน เพื่อขอรับใบสมัครรวมทั้งระเบียบการต่างๆ ในการสมัครเข้าเรียนได้

การศึกษาต่อจากระดับมัธยมศึกษา มีหลายแบบคือ
  1. Community College หมายถึง สถาบันที่ทำการสอนทักษะทางวิชาชีพต่างๆ เช่น College of Applied Arts and Technology ซึ่งมีอยู่หลายแห่งในแคนาดา สถาบันเหล่านี้มีสาขาวิชาให้เลือกมากมายและค่าธรรมเนียมการศึกษาก็ไม่สูงจนเกินไป ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 3 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจบการศึกษาให้เร็ว หรือผู้ที่มีเวลาน้อยในการเรียน

  2. สาขาวิชาที่เปิดสอนคือ
    • การศึกษาทางด้านศิลปะและเทคโนโลยี
    • หลักสูตรวิชาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพในด้านการค้าอุตสาหกรรม และหลักสูตรกึ่งวิชาชีพ เช่น บริหารธุรกิจ สาธารณสุขศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นต้น
    • หลักสูตรการศึกษาสำหรับพัฒนาทักษะในการเรียน การใช้ภาษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
    โดยทั่วๆ ไป หลักสูตรประกาศนียบัตรและอนุปริญญาจะมีการเรียนการสอนในระดับวิทยาลัยเท่านั้น ไม่มีการศึกษา ระดับนี้ที่ มหาวิทยาลัยบางหลักสูตรสามารถเทียบโอนไปยังมหาวิทยาลัยบางแห่งได้ การเทียบโอนแต่ละที่จะมีระเบียบการโอน แตกต่างกันไป ดังนั้นนักศึกษาโปรดตรวจสอบไปยังมหาวิทยาลัยที่จะทำการเทียบโอนหน่วยกิตด้วยตนเอง โดยต้องส่ง curriculum (หลักสูตรการศึกษา) และ Course description (รายละเอียดวิชา) ไปด้วย
  3. มหาวิทยาลัย (University)

  4. ภาคเรียนแรก จากเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม
    ภาคเรียนที่สอง จากเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน
    บางมหาวิทยาลัยจะเปิดภาคฤดูร้อน (Summer) (พฤษภาคม / กรกฎาคม / สิงหาคม) นักศึกษาแดนาดาส่วนใหญ่จะไม่นิยมเรียนในช่วงนี้

ระยะเวลาของการศึกษาในแต่ละหลักสูตร

1. หลักสูตรระดับปริญญาตรี (Bachelor’s degree)

โดยปกติจะใช้เวลาในการเรียนประมาณ 3 – 5 ปี ในแคนาดาจะมีหลักสูตรปริญญาตรีอยู่ 2 ประเภท คือ General Pass Degrees และ Honours Degree ในหลักสูตร Honours Degrees นี้ นักศึกษาจะต้องเรียนเพื่อให้มีหน่วยกิจมากกว่าหลักสูตรแบบ General Pass Degrees และจะต้องเขียนวิทยานิพนธ์ด้วย หากนักศึกษาคิดจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ควรเรียนในหลักสูตรประเภท Honours Degrees ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง การเรียนหลักสูตรปริญญาตรีประเภท Pass Degrees ใช้เวลาเพียง 3 ปี และหลักสูตรปริญญาตรีประเภท Honours ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี แต่ในมหาวิทยาลัยบางแห่งหลักสูตรทั้ง 2 ประเภท จะใช้เวลาในการศึกษาเท่า ๆ กันคือ 4 ปี ส่วนหลักสูตรที่ใช้เวลามากกว่า 5 ปี เช่น หลักสูตรวิชาชีพ จะต้องมีการฝึกงาน โดยการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่นักศึกษาจะไปฝึกงาน สำหรับหลักสูตรที่จำเป็นต้องฝึกงาน คือ หลักสูตรบัญชี สถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

2. หลักสูตรปริญญาโท (Master’s degree)

โดยปกติจะใช้เวลาในการเรียนประมาณ 1.5 – 2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันและนักศึกษาจะต้องเรียนพื้นฐานของแต่ละหลักสูตรและจะต้องทำการสอบ ความเข้าใจ Comprehensive Examination (สอบประมวลความรู้) หรืออาจจะต้องทำการวิจัยหรือเขียนรายงานวิทานิพนธ์หรือจะต้อง เรียนวิชาพื้นฐานของแต่ละหลักสูตรพร้อมกับเขียนวิทยานิพนธ์ด้วยก็ได้ และงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์นี้ จะสามารถนำไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกได้อีกด้วย

3. หลักสูตรปริญญาเอก (Doctoral หรือ Ph.D. Degree)

ใช้เวลาในการศึกษาอย่างน้อย 2 ปี หลังปริญญาโท หรือ 3 ปี หลังปริญญาตรี แต่อย่างไรก็ตามนักศึกษาต้องใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 3 ถึง 5 ปี หลังจากจบปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอกนี้จะประกอบด้วยวิชาพื้นฐาน การร่วมสัมมนาทางวิชาการ การค้นคว้างานวิจัย การเขียนรายงานวิชาการ การนำเสนอ และการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นต้น

การศึกษาภาคปฏิบัติ (Co – op Education)

การศึกษาภาคปฏิบัติหรือการฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาได้ร่วมมือกับสถานประกอบการทางธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง เพราะหากนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ขาดประสบการณ์ในการทำงาน อาจทำให้หางานทำได้ยาก ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหานี้สถาบันการศึกษาต่างๆ จึงมีหลักสูตรการฝึกปฏิบัติงานในหลายสาขา ดังนั้น นักศึกษาจึงต้องเรียนในหลักสูตรภาคปฏิบัติในสาขาวิชาที่ตนเรียนอยู่ ระยะเวลาในการฝึกงานประมาณ 2 ภาคการศึกษาก่อนที่จะไปทำงานตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ และจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ภาคการศึกษาฝึกงานในหลักสูตร 5 ปีของระดับปริญญาตรีก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา

การศึกษาระบบนี้ เป็นที่สนใจของนักศึกษามาก ดังนั้น จึงมีนักศึกษาสนใจเข้าสมัครเรียนกันมาก การสมัครเข้าเรียนจึงยากพอสมควร และสถาบันบางแห่งไม่เปิดหลักสูตรแบบนี้สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ดังนั้นการสมัครเรียนจึงควรตรวจสอบก่อนว่าหลักสูตรนั้นรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนหรือไม่

การคิดคะแนน มหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดา คิดคะแนนเป็น % และคะแนนผ่านคือ 50%

การส่งใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครสถานศึกษา

เมื่อได้รับใบสมัครแล้วควรกรอกข้อความด้วยความระมัดระวัง ครบถ้วน สะอาด เรียบร้อย และส่งไปยังสถานศึกษานั้นๆ โดยตรงพร้อมทั้งแนบเอกสารต่างๆ เหล่านี้ด้วย คือ
  1. หลักฐานการศึกษาภาษาอังกฤษฉบับจริง (Official Transcript)
  2. จดหมายรับรองของอาจารย์ผู้สอน / อาจารย์ที่ปรึกษา 2 – 3 ท่าน (Letters of Recommendation)
  3. หลักฐานการเงินของผู้ปกครอง (Financial Statement) (ในกรณีที่สถานศึกษาต้องการ)
  4. ใบรับรองสุขภาพจากแพทย์ (ในกรณีที่สถานศึกษาแนบมากับใบสมัคร)
  5. เรียงความประวัติส่วนตัวของนักเรียน ทั้งประวัติการศึกษาที่ผ่านมาและโครงการศึกษาต่อในแคนาดา ความตั้งใจ เป้าหมายในการศึกษา
  6. รูปถ่ายของนักเรียน
  7. สำเนาผลการสอบต่างๆ คือ TOEFL GMAT GRE SAT อย่างละ 1 ฉบับ แล้วแจ้งให้
Educational Testing Service (ETS) ส่งผลการสอบฉบับจริงโดยตรงไปยังสถานศึกษาต่อไป เมื่อสถานศึกษาได้เอกสารต่างๆ ครบก็จะพิจารณาแล้วแจ้งผลให้นักเรียนทราบ

Application Deadline : มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะหมดเขตรับสมัคร

วันที่ 1 มีนาคม สำหรับ ภาคแรก
วันที่ 1 ตุลาคม สำหรับ ภาคสอง

 



Education Abroad Co., Ltd.
KU Mini Shop (บริเวณโรงอาหารกลาง 1) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ (081) 836-4042 (02) 940-6961 แฟกซ์ (02) 940-6961 E-mail : info@e-abroad.com